วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Joomla คือ

Joomla คืออะไร         
  
         Joomla คือ ระบบที่ช่วยในการจัดการเนื้อหา(Content Management System: CMS) บนเว็บไซต์ เพื่อช่วยในการอำนวยความสะดวก ลดขั้นตอน และความยุ่งยากในการบริหารจัดการเว็บไซต์ โดยที่ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรม หรือออกแบบเว็บไซต์ ก็สามารถจัดทำเว็บไซต์ด้วยตัวเองได้ 
  • เข้าใจง่ายๆนะครับ Joomla ก็คือ ระบบจัดการเนื้อหาสำเร็จรูป ใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์ หรือ บล็อกครับ
      

วิทยาการ.คอม | ภาษาโปรแกรม| ชอฟต์แวร์ | ฮาร์ดแวร์ | วิธี - ใช้งานโปรแกรมต่างๆ: ขอโค๊ดตัวอย่าง c,java โพต์ทไว้ จะกลับมาตอบให้

วิทยาการ.คอม | ภาษาโปรแกรม| ชอฟต์แวร์ | ฮาร์ดแวร์ | วิธี - ใช้งานโปรแกรมต่างๆ: ขอโค๊ดตัวอย่าง c,java โพต์ทไว้ จะกลับมาตอบให้: "ขอโค๊ดตัวอย่าง c,java โพต์ทไว้ จะกลับมาตอบให้"โปรแกรมภาษาซี

ขอโค๊ดตัวอย่าง c,java โพต์ทไว้ จะกลับมาตอบให้





แสดงความคิดเห็นแนะนำ ให้คำปรึกษาโค๊ดได้นะครับ อยากได้โค๊ดอะไร 
ถาม - ตอบ แลกเปลี่ยนกันได้ครับ!!"

วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โค๊ดภาษา c ตอน if-else

ตัวอย่าง โค๊ดภาษา c ตอน if-else



#include <stdio.h>
          void main(){
                 int a,b,over,mod;

                    printf("\t\tProgram Multiply number 2 digit.\n");
                    printf("\n");
                    printf("\t\t\tInsert number1:");
                    scanf("%d",&a);
                    printf("\t\t\tInsert number2:");
                    scanf("%d",&b);
                    over=a/b;
                    mod=a%b;
                        if(mod==0){
                           printf("\t\t\tInput %d and %d\n",a,b);
                           printf("\t\t\t%d X %d = %d\n",b,over,a);
                        }else{
                           printf("%d Can't multiply's %d . becuase  %d Can't multiply with                                                 anynumber result is %d .\n",b,a,b,a);
                    }
}

โค๊ดภาษา c ตอน switch-case

ตัวอย่าง switch-case 


#include <stdio.h>

               void main(){

                      int x,y;
                      char sym;

                      printf("\t\tProgram calculator 2 digit.\n");
                      printf("choice(+, -, *, /, %) : ");
                      scanf("%c",&sym);
                      printf("Input number1 : ");
                      scanf("%d",&x);
                      printf("Input number1 : ");
                      scanf("%d",&y);


                      switch(sym){
                              case '*' :
                                 printf("Result = %d\n",x*y);
                                 break;
                             case '-' :
                                 printf("Result = %d\n",x-y);
                                 break;
                             case '+' :
                                 printf("Result = %d\n",x+y);
                                 break;
                             case '%' :
                                 printf("Result = %d\n",x%y);
                                 break;
                             case '/' :
                                 printf("Result = %d\n",x/y);
                                 break;

                         default : printf("Error!\n");

          }
}






หมายเหตุ  *-* แลกเปลี่ยนกันได้ครับ หรือถามเกี่ยวกันการเขียนโปรแกรมได้ครับ

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การอ่านสเป็คคอมพิวเตอร์(Specifications)

ข้อมูลจำเพา (Specifications) หรือที่เรียกกัน ทั่วไปว่า สเป็คคอมพิวเตอร์

                           ยกตัวอย่างเช่น


ASUS CM Series Essentio CM5671 

Operation System
Genuine Windows® 7 Home Premium 32 bit,Genuine Windows® 7 Home Premium 64 bit,
Processor
Intel® Core 2 Quad / Core2 Duo /Pentium®
Chipset
North Bridge: Intel G43
South Bridge: Intel ICH10
Memory
4 x DIMM Slots Dual Channel DDR3 1333 MHz . Support max 16 GB.
Graphics
Integrated Intel Graphics Media Accelerator (Intel® GMA X4500)
Support Microsoft DirectX 10
Hard Drive
SATA 3.5" 2TB
Optical Drive
CD-ROM DVD Super-multi Light Scribe
Expansion Slots
2 x PCI  / 1 x PCI-e 2.0 x16  / 1 x PCI-e 1x
Card Reader
CF/Micro Drive/MS/MS Pro/MS Pro Duo/MS-Duo/MMC/RS-MMC/RS-MMC4.0/SD/Smart Media
LAN/WLAN
LAN: 10/100/1000
Audio
ALC887 8 Channel
Front Panel
1 x Headphone / 1 x Microphone / 4 x USB 2.0
Rear Panel
1 x D-sub(VGA) / 1 x DVI-D /1 x HDMI / 1 x PS/2 Keyboard/
1 x RJ45 LAN / 1 x S/PDIF-in /6 x USB 2.0 / 1 x 8 Channel Audio
Dimension & Weight
173x410x420 mm (W x H x D)
11.5 Kg
Power Supply
300W(PFC);
Accessories
1 x Keyboard (USB) / 1 x Mouse (USB) / 1 x Warranty Card / 1 x Power Cord
Software
PC-Cillin 2010 / Microsoft Office 2010 Starter
ASUS Utility
ASUS AI Manager / ASUS My Logo2 / ASUS Q-fan / ASUS Update



































วัตถุประสงค์และหลักการของ Agile Method.

วัตถุประสงค์

       วิธีการพัฒนาซอฟท์แวร์ทุกวิธีมีเป้าหมายเดียวกันคือ เพื่อให้ได้ซอฟท์แวร์ที่สามารถทำงานได้ตามความต้องการที่กำหนด พัฒนาเสร็จภายในเวลาที่กำหนด อยู่ในงบประมาณที่ตั้งไว้ และกระบวนการพัฒนาเป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาการอันเป็นที่ยอมรับ อย่างไรก็ดีการพัฒนาโดยใช้ Agile Method มีวัตถุประสงค์ในรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้
เน้นความถนัดของแต่ละบุคคลและการพูดคุยสื่อสารกันมากกว่าการยึดติดที่ เครื่อง มือและกระบวนการในการทำงาน เช่น อาจให้โปรแกรมเมอร์ไปพบปะและพูดคุยกับผู้ใช้บ้าง ผู้ใช้บอกอะไรมาก็สามารถทำตามนั้นได้เลยทำงานโดยยึดที่ผลผลิตหรือซอฟท์แวร์เป็นหลักเช่น เดิมอาจเน้นเอกสาร แต่ Agile Method ไม่เน้นมากนัก แต่จะเน้นว่ามีซอฟท์แวร์ส่งให้ผู้ใช้หรือยัง
ให้ความสำคัญเรื่องการติดต่อสื่อสารระหว่างทีมงานด้วยกัน และระหว่างทีมงานกับผู้ใช้
ยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น เดิมต้องวางแผนล่วงหน้าให้ครบถ้วน และทำตามแผนที่กำหนดไว้ให้ได้ แต่ Agile Method ให้ความสำคัญกับการทำตามแผนน้อยลง แต่เน้นการสนองตอบต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้


หลักการ

มีหลักการและลักษณะที่สำคัญดังนี้
1. ต้องทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับการส่งมอบงานที่มีคุณภาพอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง

2. พร้อมรับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงท้ายๆของการพัฒนาก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้ลูกค้ามีความได้เปรียบทางการแข่งขันมากที่สุด

3. ส่งมอบงานที่ใช้งานได้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ทุกๆสัปดาห์ ไปจนถึงทุกๆเดือน ทั้งนี้เวลาโดยรวมจะต้องไม่ยาวนานเกินไป

4. บุคลากรที่เป็นผู้ใช้และบุคลากรที่พัฒนาระบบจะต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องจนเสร็จสิ้นโครงการ

5. สร้างแรงกระตุ้นให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการ โดยสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี และคอยสนับสนุนความต้องการ รวมถึงต้องเชื่อใจในแต่ละตัวบุคคลว่าจะสามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จ สิ้นได้โดยใช้ศักยภาพสูงสุด

6. วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันในทีมพัฒนาระบบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการ พูด คุย พบปะ และสนทนากันทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

7. ชิ้นงาน (ซอฟท์แวร์) ที่ใช้งานได้เป็นตัววัดตัวแรกของความก้าวหน้าของโครงการ

8. เน้นการพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป ทั้งผู้สนับสนุนโครงการ ผู้พัฒนา และผู้ใช้จะ ต้องทำงานร่วมกันด้วยความก้าวหน้าแบบคงที่ได้โดยมีข้อจำกัดน้อยที่สุดหรือ ไม่มีเลย

9. การใส่ใจและการติดตามเทคนิคที่ทันสมัยและการออกแบบที่ดีอย่างต่อเนื่องจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น
เน้นความเรียบง่าย ให้ถือว่างานที่ไม่เสร็จบางครั้งก็อาจเป็นข้อดีของโครงการในเรื่องความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง
โครงสร้าง ความต้องการ และการออกแบบที่ดีที่สุดเกิดขึ้นจากทีมงานพัฒนาที่มีการบริหารกันเอง
ทีมงานพัฒนาจะต้องทบทวนตัวเองว่าจะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้อย่างไรและจะ ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามข้อคิดเหล่านั้นตลอดเวลา

Agile methodology+Agile Method+Agile+ความเป็นมา+Agileหลักการทำงานเป็นอย่างไร

ความเป็นมา Agile Method

ความเป็นมาของ Agile Method.


 

การพัฒนาซอฟต์แวร์โดยวิธี Agile ถูกคิดค้นขึ้นมาเมื่อประมาณกลางปี ค.ศ. 1990 เพื่อแก้ปัญหาการพัฒนาระบบที่ความต้องการมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างบ่อย มีความยุ่งยากในการจัดการ การพัฒนาซอฟต์แวร์โดยวิธี Agile สามารถย้อนกลับไปแก้ไขงานในส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ได้ วิธี Agile ได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งปี ค.ศ. 2001 ทีมงานที่พัฒนาได้ตั้งชื่อเต็มเป็น “Agile Method” หลังจากนั้นได้มีองค์กรที่ไม่หวังผลกำไรช่วยกันสนับสนุนวิธีการนี้ ซึ่งองค์กรดังกล่าวมีข้อมูลที่เว็บไซต์ http://www.agilealliance.com เพื่อสนับสนุนการพัฒนาซอฟท์แวร์โดยใช้วิธี Agile method

Agile model เป็นโมเดลที่ออกแบบให้มีความรวดเร็ว ยืดหยุ่น พร้อมที่จะรับกับความเปลี่ยนแปลง เพื่อลดความเสียงในการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยการแบ่งการพัฒนาออกเป็น iteration โดยแบ่งเวลาออกเป็นช่วง ๆ แต่ละช่วงยาวนานไม่มากนัก ไม่เกิน 1 เดือน หรือ 4 สัปดาห์ การพัฒนาจะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่ามีอะไรมากระทบก็ไม่สนใจ เมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงก็จะพัฒนาให้สามารถรองรับกับความเปลี่ยนแปลงนั้น ได้ อย่างไม่มีข้อจำกัดตายตัว
ในการพัฒนาจะเน้นการพูดคุยกันในทีมงานและผู้ใช้มากกว่าเน้น process หรือ tools การทำงานจะยึดที่ผลผลิตหรือตัวซอฟต์แวร์เป็นหลัก ไม่ค่อยเน้นการจัดทำเอกสาร เน้นที่ความสัมพันธ์ของทีมงานและการสื่อสารเป็นหลัก เพื่อให้ได้ความต้องการมาครบถ้วนและพร้อมที่จะยอมรับความเปลี่ยนแปลงเพิ่ม เติมของความต้องการ

         หัวใจของ Agile model ได้แก่ เน้นความพึงพอใจของลูกค้า โดยการส่งมอบซอฟต์แวร์ให้ลูกค้าอย่างต่อเนื่องทุก 2 สัปดาห์ ยินดียอมรับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงเสมอ ทีมพัฒนาระบบจะดำเนินโครงการที่เว็บไซต์ของลูกค้ามีการพบหน้ากันทุกวันจนกว่า โครงการจะเสร็จ มีการประชุมพบหน้ากันสม่ำเสมอ ทีมงานมีอำนาจในการตัดสินใจเต็มที่ วัดความก้าวหน้าของงานกันที่ตัวซอฟต์แวร์ การทำงานใช้กระบวนการที่ไม่หวือหวา เน้นความคุณภาพชีวิตของทีมงาน มีเทคนิคต่าง ๆ ก็นำมาแลกเปลี่ยนกัน เน้นเทคนิคการออกแบบที่ง่าย ไม่ซับซ้อน ทำให้บำรุงรักษาปรับเปลี่ยนระบบได้ง่าย
       
                 Agile โดยมากจะเป็นการพยายามลดความเสี่ยง โดยพัฒนาซอฟแวร์ในรูปแบบของ timebox สั้นๆ เรียกว่า iteration ตั้งแต่ 1 ถึง 4 สัปดาห์ แต่ละ iteration เปรียบเสมือน software project ของมันเองซึ่งประกอบไปด้วย task ต่างๆที่จำเป็นให้เสร็จงาน ซึ่งอาจจะประกอบไปด้วยการ planning, requirements analysis, design, coding, testing, และการทำเอกสารagile software project พยายามที่จะ release ซอฟแวร์ออกมาทุกๆ iteration และเมื่อจบแต่ละ iteration จะมีการประเมินผลด้วยการทำงานแบบ agile จะนิยมการติดต่อสื่อสารแบบ Realtime คือการคุยกันน่าต่อน่า แทนที่จะเป็นการเขียนเอกสาร โดยทีมงานจะทำงานร่วมกันภายใต้ bullpen ซึ่งประกอบไปด้วยคนที่เกี่ยวข้องกับการทำซอฟแวร์ให้เสร็จ อย่างน้อยได้แก่ programmer และ customer (product manager, business analysts, actual customer) หรืออาจจะรวมถึง tester, interaction designers, technical writers, manager ด้วยมีการเขียนเอกสารเฉพาะเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถติดต่อประสานงานได้ สรุปเป็นการแบ่ง pharse software โดยทำให้เสร็จทีละ pharse ไป และแต่ละ pharse ก็เปรียบเสมือน project ย่อยๆ ที่มี task ภายในให้ project สำเร็จอันได้แก่ การวางแผนงาน การวิเคราะห์ความต้องการ การออกแบบระบบ การพัฒนาระบบ การตรวจสอบ และการทำเอกสาร แต่ละ pharse จะมี function งานใหม่ๆออกมา

Agile methodology+Agile Method+Agile+ความเป็นมา+Agileหลักการทำงานเป็นอย่างไร

Agile Method คืออะไร

Agile Method คืออะไร 


ในตอนเริ่มต้นของการใช้คอมพิวเตอร์ใหม่ๆคือราวปี ค.ศ. 1950-1970 การพัฒนาซอฟท์แวร์หรือโปรแกรมกระทำภายใต้ความต้องการที่ชัดเจนและเสถียร ดังนั้นนักคอมพิวเตอร์จึงคิดวิธีการพัฒนาภายใต้แบบจำลอง
ที่เรียกว่า “Waterfall Model” วิธีการนี้แบ่งการพัฒนาออกเป็น 5 ขั้นตอน
โดยกิจกรรมในขั้นตอนใดจะเริ่มขึ้นได้ ขั้นตอนก่อนหน้านี้จะต้องเสร็จสิ้นก่อน ซอฟท์แวร์ที่ได้ผู้ใช้มักจะพอใจเป็นส่วนใหญ่ ในเวลาต่อมา ความต้องการมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ความต้องการไม่ชัดเจน  และซอฟท์แวร์ก็มีขนาดใหญ่มากขึ้น แต่ยังพอคาดเดาได้ว่าเมื่อใช้ซอฟท์แวร์นั้นไประยะหนึ่งแล้วอะไรจะเกิดขึ้น นักคอมพิวเตอร์ก็ได้คิดค้นวิธีการพัฒนาซอฟท์แวร์ที่เหมาะสมขึ้นเช่น วิธีการเชิงโครงสร้าง (Structured Approach)  วิธีการสร้างต้นแบบ (Prototyping Approach) และวิธีการเชิงวัตถุ (Object-Oriented Approach) เป็นต้น วิธีการเหล่านี้ได้รับความนิยม เชื่อถือ และถูกใช้งานมายาวนานกว่า 2 ทศวรรษ อย่างไรก็ดี การประยุกต์ในช่วงหลังจากปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา
 
นอกจากระบบงานจะมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นและความต้องการไม่ชัดเจนแล้ว ความต้องการยังมีการเปลี่ยนแปลงแทบจะตลอดเวลาอีกด้วย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเกิดจากทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกองค์กร ที่ไม่สามารถควบคุมและคาดเดาได้ ถ้ายังใช้วิธีการพัฒนาแบบเดิมจะไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงไปได้


การพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Agile เป็นแนวคิดใหม่สำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่พยายามจะแทรกตัวเข้าไปในวิธีการ แบบเดิม เพื่อให้งานสั้นลง ประหยัดเวลา และประหยัดงบประมาณ  การพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Agile มีหลายวิธีซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการพัฒนาในช่วงเวลาสั้น ๆ ซึ่งอาจจะใช้เวลาประมาณ 1 - 4 สัปดาห์ โดยโครงงานทั้งหมดจะประกอบด้วย กิจกรรมการระบุความต้องการ การวิเคราะห์  การออกแบบ การทดสอบ และการทำเอกสารเป็นต้น วิธีการพัฒนาซอฟท์แวร์แบบ Agile จะเน้นเรื่องการสื่อสารแบบตัวต่อตัว มากกว่าการใช้เอกสาร ทีมงานอย่างน้อยต้องประกอบด้วยโปรแกรมเมอร์และลูกค้าที่จะกำหนดขอบเขตของ ระบบงาน   นอกจากนี้วิธีการแบบ Agile ยังเน้นให้การพัฒนาซอฟต์แวร์มีความก้าวหน้าและเป็นไปตามมาตรฐานที่ได้วางไว้ ร่วมกันกับการสื่อสารกับลูกค้า ซึ่งจะมีเอกสารที่เกี่ยวข้องไม่มากนัก


Agile methodology+Agile Method+Agile+ความเป็นมา+Agileหลักการทำงานเป็นอย่างไร

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

โครงสร้างข้อมูล(Data structure)


ฐานข้อมูล (Database) 
คือ การเก็บรวบรวมไฟล์ข้อมูลหลายๆ ไฟล์ที่เกี่ยวข้องกันมารวมเข้าด้วยกัน
เช่น ไฟล์ข้อมูลของแผนกต่างๆ มารวมกันเป็นฐานข้อมูลของบริษัท เป็นต้น
บิต (Bit) 
คือ ข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจ
และนำไปใช้งานได้ ซึ่งได้แก่ เลข 0 หรือ เลข 1 เท่านั้น
ไบต์ (Byte) หรือ อักขระ (Character) 
ได้แก่ ตัวเลข หรือ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ 1 ตัว เช่น 0, 1, …, 9, A, B, …, Z
และเครื่องหมายต่างๆ ซึ่ง 1 ไบต์จะเท่ากับ 8 บิต หรือ ตัวอักขระ 1 ตัว เป็นต้น
ฟิลด์ (Field) 
ได้แก่ ไบต์ หรือ อักขระตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปรวมกันเป็นฟิลด์
เช่น เลขประจำตัว ชื่อพนักงาน เป็นต้น
เรคคอร์ด (Record) 
ได้แก่ ฟิลด์ตั้งแต่ 1 ฟิลด์ ขึ้นไป ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องรวมกันเป็นเรคคอร์ด
เช่น ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัว ยอดขาย ข้อมูลของพนักงาน 1 คน เป็น 1 เรคคอร์ด

ไฟล์ (Files) หรือ แฟ้มข้อมูล 
ได้แก่ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดรวมกัน ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน
เช่น ข้อมูลของประวัติพนักงานแต่ละคนรวมกันทั้งหมด
เป็นไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับประวัติพนักงานของบริษัท เป็นต้น

การวัดขนาดข้อมูล 
8 Bit             =      1 Byte
1,024 Byte   =      1 KB (กิโลไบต์)
1,024 KB     =      1 MB (เมกกะไบต์)
1,024 MB    =       1 GB (กิกะไบต์)
1,024 GB    =        1 TB (เทระไบต์)



กระบวนการ bootstrapping machine.(ตั้งแต่เปิดเครื่องจนพร้อมใช้งาน)

กระบวนการ Bootstrapping machine.(ตั้งแต่เปิดเครื่องจนพร้อมใช้งาน)


 กระบวนการ power on self test (POST) ของเมนบอร์ด
          คือ การตรวจสอบความพร้อมของระบบโดยรวมของตัวเมนบอร์ดและอุปกรณ์ที่สำคัญของระบบ ก่อนที่จะทำการ เริ่มระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ ถ้ากระบวนการ power on self test ทำงานได้ไม่สมบูรณ์ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตามจะไม่สามารถเริ่มระบบปฏิบัตการ ได้ (ระบบปฏิบัติการ หรือ Operatinng system คือส่วนของโปรแกรมระบบ เช่น วินโดว์ ดอส หรือ โอเอสทู ลีนุกส์ เป็นต้น)กระบวนการ Power on self test เรื่มเมือใด?กระบวนการ power on self test จะเริ่มทำงานทันทีทีทำการ เปิดสวิทซ์ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ (power on) แล้วจะเริ่มทำการตรวจสอบส่วนประกอบพิ้นฐานสำคัญต่างๆของคอมพิวเตอร์

            1.เมื่อเปิดเครื่องกระแสไฟฟ้าจะกระตุ้นให้ซีพียูเริ่มทำงาน โปรแกรมถาวรที่ฝังภายในตัวซีพียูจะเริ่มทำงานโดยการล้างหน่วยความจำภายในซี พียู หรือที่เรียกกันว่า รีจิสเตอร์ (register) ให้ว่างเปล่า จากนั้นกำหนดให้ริจิสเตอร์ตัวหนึ่งที่ชื่อว่าโปรแกรมเคาร์เตอร์มีค่าตำแหน่ง เฉพาะค่าหนึ่ง (program counter ทำหน้าที่จดจำหมายเลขหน่วยความจำที่จะทำการดึงคำสั่งโปรแกรมขึ้นมาทำงาน) โดยถ้าเป็นเครื่องรุ่นAT จะเริ่มทำงานที่แอดเดรสหรือตำแหน่งที่เลขฐานสิบหกที่ F000 ซึ่งเป็นตำแหน่งเริ่มต้นของโปรแกรมบูตนั่นเอง ข้อสังเกต เราจะใส่โปรแกรมบูต “ส่วนแรก” ลงในหน่วยความจำถาวรที่เรียกว่า รอม (ROM :Read-Only Memory ) และส่วนที่สองลงในแผ่นดิสก์ที่มีโอเอส ดังนั้นเมื่อปิดเครื่องโปรแกรมก็ยังคงไม่หายไปไหน เมื่อกลับมาเปิดเครื่องใช้ใหม่ ซีพียูก็จะสามารถอ่านโปรแกรมบูตนี้ได้เหมือนเดิม รอมที่ว่านี้อาจเรียกว่า ไบออส (BIOS : Basic Input/Output System) ก็ได้

          2.ซีพียูใช้ตำแหน่งแอดเดรสที่อ้างอิงครั้งแรกนี้ เรียกคำสั่งแรกของโปรแกรมบูตของรอมไบออสขึ้นมา ซึ่งเท่ากับเป็นการเริ่มการบวนการ “โพสต์” โดยเริ่มแรกจะเป็นคำสั่งให้ซีพียูทำการตรวจสภาพตัวซีพียูเองว่าสมบูรณ์หรือ ไม่ จากนั้นโปรแกรมก็จสั่งให้ซีพียูลองย้อนกลับไปตรวจสอบโปรแกรมโพสต์ว่าถูกต้อง หรือไม่ โดยการอ่านพื้นที่หลาย ๆ พื้นที่ของโปรแกรมภายในรอม แล้วลองเทียบกับตัวเลขที่ตอนบันทึกไว้ตั้งแต่ตอนเริ่มสร้างรอม

          3.ซีพียูส่งสัญญาณไปทั่วระบบบัสเพื่อให้มั่นใจว่าชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ busคือ กลุ่มของสายไฟที่ใช้เป็นเส้นส่งถ่ายคำสั่งและข้อมูลระหว่างชิ้นส่วนหรือ ระหว่างซีพียูกับชิ้นส่วนต่าง ๆหรืออาจกล่าวว่า บัส หมายความว่า วงจรไฟฟ้าเชื่อมชิ้นส่วนที่สำคัญต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และทำให้ชิ้นส่วนเหล่านี้สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ )


          4.ซีพียูทำการตรวจว่ามีโปรแกรมภาษาเบสิกอยู่หรือไม่ และสมบูรณ์หรือไม่ จากนั้นจะหันไปทำการตรวจสอบตัวกำเนิดสัญญาณนาฬิการ (timer) ซึ่งบางทีเราจะเรียกว่าคริสตัล (crytal) ทั้งนี้ให้มั่นใจว่าจะทำงานเพรียงกันได้อย่างสมบูรณ์ (ตัวกำเนิดสัญญาณนาฬิกาจะเป็นตัวกำหนด “จังหวะ” การทำงานของชิ้นส่วนต่าง ๆ รวมทั้งตัวซีพียู และเจ้าตัวนี้เองที่มีหน่วยเป็นเมกะเฮิรตซ์ (MHZ) เช่น เครื่อง 486-50 ก็มักหมายความว่าเป็นเครื่องพีซีที่ใช้คริสตัลความเร็ว 50 เมกะเฮิรตซ์ หรือทำงาน 50 ล้านจังหวะต่อวินาทีนั่นเอง )

          5.ต่อมากระบวนการ “โพสต์” ก็จะทำการตรวจหน่วยความจำบนการ์ดแสดงผล (Monochrome, EGA,VGA ฯลฯ) และสัญญาณภาพ (video signal) เมื่อพบว่าสมบูรณ์ก็จะนำโปรแกรมไบออสที่อยู่บนการ์ดแสดงผลมาผนึกรวมเป็นส่วน หนึ่งของไบออสระบบและกำหนดคุณสมบัติให้กับหน่วยความจำ ถึงตอนนี้คุณจะเริ่มเห็นอะไรบางอย่างปรากฏที่จอมอนิเตอร์เป็นครั้งแรก

       6.โพสต์จะทำการตรวจสอบหน่วยความจำหลัก ที่อยู่บนเมนบอร์ดซึ่งมักจะเป็นแรม (RAM) การทดสอบทำได้โดยการเขียนข้อมูลลงแรม แล้วทดสอบอ่านกลับดูว่าเหมือนกับข้อมูลที่เขียนลงไปในครั้งแรกหรือไม่ในช่วง นี้เองที่ผู้ใช้จะเห็นตัวเลขวิ่งที่หน้าจอ

       7.ซีพียูตรวจว่ามีคีย์บอร์ดเสียบอยู่หรือไม่ และมีใครกดปุ่มคีย์ไหนค้างอยู่

       8.โพสต์จะส่งสัญญาณไปยังบัสของดิสก์ไดร์ฟต่าง ๆ และฟังสัญญาณโต้กลับว่าไดร์ฟไหนพร้อมที่จะทำงาน

       9.สำหรับเครื่อง AT หรือเครื่องรุ่นใหม่ ๆ กระบวนการโพสต์จะทำการเปรียบเทียบผลการตรวจสอบอุปกรณ์กับข้อมูลที่บันทึกไว้ ในซีมอส (CMOS) ถ้าข้อมูลไม่ต้องกับที่โพสต์ตรวจสอบมา โพสต์ก็อาจจะเข้าสู่โปรแกรมเซตอัปเพื่อให้เรากำหนดชนิดของอุปกรณ์ใหม่ (ซีมอสเป็นชนิดของชิปหน่วยความจำ มันสามารถเก็บข้อมูลได้นานตราบเท่าที่เราป้อนไฟเลี้ยงจากแบตเตอรี่ให้) อนึ่ง ข้อมูลภายในซีมอสจะไม่หายไปเมื่อมีการปิดไฟเครื่อง แต่จะหายไปได้ในกรณีที่เราใช้แบตเตอรี่มานาน แล้วแบตเตอรี่ไฟหมด (เครื่องพีซีรุ่น XTจะไม่มีหน่วยความจำซีมอสนี้)
      10. บางเครื่องที่มีการใส่อุปกรณ์ที่มีไบออสของมันเอง เช่น การ์ดควบคุมดิสก์ชนิด SCSI (อ่านว่าสกัสซี่)โปรแกรมไบออสของการ์ดหรืออุปกรณ์เหล่านี้จะถูกจดจำและผนวก รวมเป็นส่วนหนึ่งของไบออสระบบ ก่อนที่เครื่องพีซีจะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปในการบูต ซึ่งเป็นการโหลดหรือบรรจุโอเอสจากดิสก์ลงสู่หน่วยความจำ